เรื่องที่ต้องรู้ของมนุษย์เงินเดือน
คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี (เฉลี่ย 10,000 บาทต่อเดือน) มีหน้าที่ที่จะต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยต้องรวบรวมเอกสารตามที่กรมสรรพากรกำหนดให้ถูกต้องและครบถ้วน และนำไปยื่นที่กรมสรรพากร หรือจะใช้ช่องทางออนไลน์โดยการยื่นเอกสารผ่านทางเว็บไซต์ หรือในแอพพลิเคชั่นก็ได้
ถ้าต้องยื่นภาษี ต้องยื่นเมื่อไหร่?
สำหรับมนุษย์เงินเดือนที่มีเงินได้นั้น ปกติการยื่นแบบแสดงรายการจะยื่นปีละ 1 ครั้ง (ยื่นแบบฯ ภายในวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดไป)
แต่ถ้าเงินได้บางลักษณะ เช่น การให้เช่าทรัพย์สิน เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เงินได้จากการรับเหมา เงินได้จากธุรกิจการพาณิชย์ เป็นต้น จะต้องยื่นแบบฯ ตลอดกลางปี (สำหรับเงินได้ที่เกิดขึ้นใน 6 เดือนแรก ต้องยื่นแบบแสดงรายการภายในเดือนกันยายนของทุกปี)
มีเงินได้จริงๆเท่าไหร่? จึงจะต้องเสียภาษี
รายได้ที่ได้รับต่อปีนั้น หากถึงเกณฑ์จะต้องยื่นแบบแสดงรายการ และมีหน้าที่ในการเสียภาษีบุคคลธรรมดา จะมีการลดหย่อนทางภาษีตามที่กรมสรรพากรกำหนด ซึ่งเกณฑ์ในการยื่นแล้วนั้นจะเป็น 2 กลุ่มบุคคลดังนี้
คนโสด
เงินเดือน 10,000 บาทต่อเดือน หรือ 120,000 ต่อปี
เงินได้ประเภทอื่นๆ 5,000 บาทต่อเดือน หรือ 60,000 ต่อปี
แต่งงานแล้ว
เงินเดือน 18,333 ต่อเดือน หรือ 220,000 ต่อปี
เงินได้ประเภทอื่นๆ 10,000 บาทต่อเดือน หรือ 120,000 ต่อปี
ซึ่งบุคคลที่มีรายได้ตามข้างต้นนั้นจะต้องมีหน้าที่ในการยื่นแบบแสดงรายการให้กรมสรรพากรทราบถึงรายได้ ณ ปัจจุบัน (แต่กรณีที่ยื่นแบบแสดงรายการแล้วจะมีการลดหย่อยทางภาษี หากเงินได้หักกับเงินลดหย่อยแล้ว อาจจะไม่ต้องเสียภาษี หรืออาจจะเสียภาษีขึ้นอยู่กับเงินได้ของแต่ละบุคคล เพียงแต่เมื่อถึงเกณฑ์ดังกล่าวจะต้องยื่นแบบแสดงรายการแก่กรมสรรพากร)
เมื่อรายได้เข้าตามเกณฑ์ต้องยื่นภาษีแล้ว เราต้องเสียภาษีเท่าไหร่?
ผู้มีเงินได้ตามประเภท 40(1) หรือเงินเดือนนั้น จะมีการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีบุคคลธรรมดา แต่ในทางคำนวณแล้ว ผู้ที่มีเงินได้ (เงินเดือน) จะมีการลดหย่อนทางภาษี เพื่อเป็นการให้ผู้ที่มีเงินได้เสียภาษีน้อยลงตามภาระที่รับผิดชอบอยู่ เช่น
ลดหย่อน ค่าใช้จ่ายจากเงินได้ 60% ไม่เกิน 100,000 บาท และ ลดหย่อนตนเอง 60,000 บาท ซึ่งการลดหย่อนนี้เป็นการลดหย่อนพื้นฐานสำหรับผู้ไม่มีภาระรับผิดชอบมากนัก เพียงแต่มีบางบุคคลที่มีภาระที่ต้องรับผิดชอบมากกว่าที่สามารถนำมาลดหย่อนได้ เช่น
คู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ (ต้องจดทะเบียนสมรส) ลดหย่อนได้ สูงสุด 60,000 บาท
บิดาหรือมารดาอายุมากกว่า 60 ปี จำนวนคนละ 30,000 บาทต่อปี สูงสุด 4 คน ไม่เกิน 120,000 บาท หากบิดามารดามีบุตรหลายคนสามารถลดหย่อนได้เพียงคนเดียว
ค่าฝากครรภ์หรือคลอดบุตรที่จ่ายให้กับสถานพยาบาลรัฐหรือเอกชน (กรณีคู่สมรสไม่มีเงินได้) ไม่เกิน 60,000 บาทต่อปี
มีบุตร ต้องเป็นบุตรโดยกฎหมาย สามารถลดหย่อนได้ คนละ 30,000 บาทต่อปี หากแต่เป็นบุตรบุญธรรมนั้น สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 3 คน บุตรจะต้องมีอายุแรกเกินจนถึง 20 ปีบริบูรณ์ หรือถ้าหากเกิน 25 ปี จะต้องเป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ ก็สามารถลดหย่อนภาษีได้ กรณีบุตรคนที่ 2 ขึ้นไปจะต้องเป็นบุตรที่เกิดหลังปี 2561 จึงจะสามารถลดหย่อนได้
สรุปแล้ว ผู้ที่มีเงินเดือนเกิน 120,000 บาทต่อปี จะต้องยื่นแบบแสดงรายการแก่กรมสรรพากร เพื่อเป็นการเสียภาษีบุคคลธรรมดา เพียงแต่การเสียภาษีนั้นบางครั้งอาจจะไม่ต้องเสียภาษีเนื่องจากภาระหน้าที่รับผิดชอบที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ สามารถคำนวณภาษีได้เองผ่านเว็บไซต์ https://www.itax.in.th/lite/ หรือแอพพลิเคชั่น iTax
แหล่งที่มา https://www.sanook.com/