วิธีเก็บเงินของเด็กยุคใหม่

วิธีเก็บเงินของเด็กยุคใหม่

วิธีเก็บเงินของเด็กยุคใหม่

วิธีเก็บเงินของเด็กยุคใหม่

Masii

สนับสนุนเนื้อหา

สำหรับ First jobbers หรือ หนุ่มสาวที่เพิ่งเริ่มทำงานได้ไม่นาน มักรู้สึกว่ามีเรื่องที่ต้องใช้เงินตลอด ของชิ้นนั้นก็อยากจะได้ ทริปก็อยากจะเที่ยว ของก็แพงขึ้นทุกวัน แต่รายได้กลับไม่เพิ่มขึ้นตามความต้องการ จึงพบว่าการออมเงินเป็นเรื่องยากเหลือเกิน แต่ ทุกคนก็ตระหนักดีถึงความจำเป็นของการออมเงินไว้ใช้ในยามจำเป็นในอนาคต
ในปัจจุบันมีวิธีมากมายที่จะออมเงินหรือลงทุนสร้างผลตอบแทน โดยมาสิจะขอแนะนำให้เลือกวิธีการโดยคำนึงถึงอุปนิสัยของเรา เป้าหมายของการออม (ทั้งออมระยะสั้น หรือระยะยาว) และความเสี่ยงที่เรารับได้ แล้วเลือกวิธีที่เหมาะกับเรามากที่สุด ซึ่งวันนี้มาสิจะมาแนะนำ 5 วิธีที่ง่ายๆ ไว้เป็นแนวทางครับ
1.เก็บเงินใส่กระปุกออมสิน

วิธีสุดแสนจะคลาสสิค ซึ่งแต่ละคนจะมีดีเทลที่แตกต่างกันไป เช่น บางคนเน้นหยอดเหรียญแบบบ้านๆ บางคนเมื่อเจอแบงค์ 50 บาท จะเก็บไว้ไม่ใช้ เพื่อนำไปหยอดกระปุก หรือบางคนก็เลือกจะเก็บแบงค์ใหม่เอี่ยม ในกรณีที่Advanceกว่านั้น บางคนเลือกที่จะสร้างกฎเกณฑ์ เพื่อควบคุมความประพฤติตัวเองควบคู่ไปกับการเก็บเงิน เช่น จะไม่กินข้าวหลังสามทุ่มไม่งั้นต้องหยอดกระปุก 20 บาททุกครั้งเป็นการลงโทษ การทำแบบนี้นอกจากจะมีเงินออมมากขึ้นแล้ว ยังทำให้วินัยเราดีอีกด้วย
2.บันทึกรายรับรายจ่ายอย่างสม่ำเสมอ

การบันทึกรายรับรายจ่ายของตัวเองและรีวิวทุกสิ้นเดือนจะทำให้รู้ว่าเราใช้เงินไปกับส่วนไหนเท่าไหร่บ้าง หลังจากนั้นลองทบทวนว่ามีส่วนไหนที่ไม่จำเป็นหรือพอประหยัดได้บ้าง ถ้าขี้เกียจจดบันทึกลงกระดาษ จะบันทึกโดยใช้ Application มือถือก็ได้ ที่นิยมก็เช่น Pocket Expense, Level Money, Mint เป็นต้น
3.เปิดบัญชีเงินฝากประจำหักจากเงินเดือนโดยตรง

เริ่มต้นจากกำหนดสัดส่วนเงินที่ตั้งใจจะออม เช่น 10% ของเงินเดือน แล้วไปเปิดบัญชีฝากประจำกับธนาคารที่เรามีบัญชีเงินเดือนอยู่ ให้ทางธนาคารหักเงินออกจากบัญชีเราอัตโนมัติในวันที่เงินเดือนออก (เช่น ปกติเงินเดือนออกวันที่ 25 ก็ให้หักทุกวันที่ 25) โดยเลือกประเภทการฝากประจำที่เหมาะกับวัตถุประสงค์การออมของเรา เช่น 12 เดือน หรือ 24 เดือน วิธีนี้การันตีได้ว่าสามารถเก็บเงินได้สม่ำเสมอทุกเดือนแน่ๆ และยังได้ดอกเบี้ยมากกว่าบัญชีเงินเดือนที่เป็นบัญชีออมทรัพย์

4.ซื้อกองทุน LTF/RMF และประกันชีวิตเพื่อนำมาลดหย่อนภาษีเงินได้

สำหรับมนุษย์เงินเดือนส่วนใหญ่ หรือคนที่ไม่เชี่ยวชาญในตลาดหุ้น การลงทุนในกองทุนรวม เช่น LTF หรือ RMF ที่มีผู้เชี่ยวชาญช่วยบริหารถือเป็นการลงทุนที่สะดวกกว่า และมีอาจให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าฝากเงินไว้กับธนาคาร อย่างไรก็ตามการลงทุนในตลาดหุ้นมีความเสี่ยง เราจึงควรศึกษาหาข้อมูลก่อนว่ากองทุนไหนมีผลประกอบการน่าลงทุน และเหมาะกับสไตล์การลงทุนของเรา ส่วนการซื้อประกันชีวิต แม้ผลตอบแทนที่ได้อาจจะไม่ได้มากเท่าจากการซื้อกองทุน แต่ก็เป็นการซื้อความเสี่ยงรูปแบบหนึ่งเพื่อคนที่อยู่ข้างหลังเรา เช่น ครอบครัว
อย่างไรก็ตาม เพื่อจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีนั้น เราจะต้องลงทุนในกองทุน LTF/RMF ทิ้งไว้นานถึง 7 ปีปฏิทิน (หรือ 5 ปี) และในกรณีของประกันชีวิต ที่มีกำหนดเวลาอย่างน้อย 10 ปี สำหรับคนที่มีเงินเย็นอาจจะมองว่าเป็นข้อดีว่าเป็นการบังคับให้เราเก็บเงินได้นาน แต่คนบางกลุ่มอาจเห็นเป็นข้อเสียว่านานเกินไป จนเอาเงินออกมาใช้ไม่ได้ซักทีก็ได้นะครับ
5.ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ด้วยตัวเอง (มีความเสี่ยงสูง)
การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์นั้นมีความเสี่ยงมากซึ่งผู้ลงทุนนั้นควรจะศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนการลงทุน ในตลาดหลักทรัพย์มีหุ้นอยู่จำนวนมากโดย ต้องรู้ว่าเราอยากซื้อหุ้นตัวไหนโดยเหมาะกับเรา โดยการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ก็มีอีกหนึ่งทางเลือกเพื่อการลงทุนและออมทรัพย์

สามารถติดตามข่าวสารและบทความสนุกๆ ได้ที่ masii.co.th/blog
และสามารถติดตามโปรโมชั่นเด็ดๆ จากมาสิ ได้ที่ promotion.masii.co.th
หรือสนใจเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ทางการเงินก่อนการตัดสินใจได้ที่ https://masii.co.th
by sikarin